Last updated: 2020-12-24 | 39 จำนวนผู้เข้าชม |
ธุรกิจหลังโควิด กลุ่มไหนฟื้นก่อน-หลัง พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์
จากจุดที่เรียกว่าต่ำสุดของสถานการณ์โควิด-19 คือช่วงล็อกดาวน์ในเดือนมี.ค.-เม.ย. ที่ในตอนนี้ภาครัฐจะคลี่คลาย ปลดล็อกให้กลับมาทำกิจกรรมได้
รวมทั้งออกมาตรการเยียวยา ทำแผนฟื้นฟูกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งธุรกิจภาคส่วนต่างๆ ทยอยฟื้นตัวในเคสที่ว่าไม่เกิดการระบาดรอบใหม่ในประเทศ
แล้วสถานการณ์ครึ่งปีหลังจะไปในทิศทางไหน และต้องรับมืออย่างไร
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงที่เหลือของปี 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2564 นั้นภาคธุรกิจยังมีแนวโน้มเผชิญความท้าทายภายใต้สภาวะปกติใหม่หรือ New Normal ที่ทำให้การฟื้นตัวของธุรกิจส่วนใหญ่กลับสู่ระดับก่อนโควิดในปี 2562 ยังคงจะต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 1 ปี
โดยปัจจัยที่ยังทำให้เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวมีอยู่ด้วยกัน 3 อย่างคือ
1.ขนาดตลาดหดตัวในทุกธุรกิจ
ตามทิศทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ ไม่ใช่แค่กระทบต่อภาคการส่งออก และการผลิต แต่กระทบถึงความสามารถในการใช้จ่ายของครัวเรือน และเกิดปัญหาการว่างงานสะสมตามมา
2.การเร่งตัวของช่องทางออนไลน์และเทคโนโลยีดิจิทัล
โควิด-19 ผลักดันให้ผู้บริโภคเปลี่ยนช่องทางการซื้อสินค้าและบริการ ขณะที่ผู้ประกอบการต้องปรับช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภคเพื่อความอยู่รอดของกิจการและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้
แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกกิจการจะมีความสามารถในการปรับตัวที่รวดเร็วและยืดหยุ่น โดยเฉพาะธุรกิจ SME ที่อาจไม่ได้เตรียมการสำหรับการเปลี่ยนแปลงมาก่อน
ขณะที่ในอนาคตต่อไปพฤติกรรมของลูกค้าจะยิ่งเปลี่ยนเร็ วและซับซ้อนขึ้นอีก ไม่ได้ตายตัวในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
3.การแข่งขันระหว่างธุรกิจที่รุนแรงขึ้น
จากเดิมที่รุนแรงอยู่แล้วก่อนโควิด ด้วยขนาดตลาดที่เล็กลง แต่จำนวนผู้ประกอบการในแต่ละธุรกิจยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ในที่สุดแล้วผู้ประกอบการที่มีสายป่านสั้นหรือยืดหยุ่นน้อย อาจจะหายออกไปจากระบบไป
แล้วธุรกิจอะไรจะฟื้นตัวก่อน และธุรกิจไหนจะฟื้นตัวทีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า หากประเมินภาพรวมธุรกิจจากมิติด้านยอดขาย/ขนาดการผลิตเบื้องต้นพบว่า ธุรกิจที่อาจฟื้นตัวได้ก่อนนั้นก็ยังเป็นการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
คือ กลุ่มสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ได้แก่ อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค FMCG ยาและเวชภัณฑ์ บริการด้านสุขภาพ
รวมไปถึงกลุ่มสินค้าและบริการใน Sub-segment ของบางธุรกิจที่แม้มูลค่าตลาดยังเป็นสัดส่วนน้อยแต่ก็ขยายตัวสอดคล้องไปกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ค้าปลีกออนไลน์ บริการขนส่งอาหารและสิ่งของและบริการคลาวด์โซลูชั่นต่างๆ
ขณะเดียวกันกลุ่มที่ฟื้นตัวช้ากว่านั้น คือ กลุ่มสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคมองว่ายังไม่จำเป็นต้องซื้อหรือเร่งซื้อในช่วงเวลานี้
โดยเฉพาะหากเป็นสินค้าและบริการที่มีมูลค่าต่อชิ้นสูง ก็จะยิ่งมีข้อจำากัดในการใช้จ่ายมากขึ้น ได้แก่ รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ กิจกรรมบันเทิงต่างๆ รวมทั้งการเดินทางท่องเที่ยว (แม้ในระยะสั้นจะได้รับแรงหนุนบ้างก็ตาม)
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงตลาดปลายทางการส่งออกที่เผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย และค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มผันผวนแข็งค่า ก็คาดว่าจะยังเป็นแรงกดดันต่อการส่งออกสินค้าไทยโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยด้วย
K SME Analysis
อย่างไรก็ตามการทำธุรกิจในภาวะ New Normal ในตอนนี้คือ การรักษากระแสเงินสด และสภาพคล่องเพื่อให้กิจการอยู่รอด และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องมองไปข้างหน้าเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
ด้วยการมองหาโอกาสในการลงทุนใน Megatrends ที่สอดรับไปกับยุคใหม่ไม่ว่าจะเป็น เทรนด์ดิจิทัล กระแสรักสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน หรือลงทุนในระบบ เครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ
ธุรกิจหลังโควิด ต้องให้ความสำคัญกับ 3 สิ่งต่อไปนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ (Productivity) การส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการไปสู่มือผู้บริโภคด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด (Logistics)
และการเข้าไปอยู่ในทุกๆ ช่องทางที่จะช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด (Near Customers)
Cr. https://marketeeronline.co/archives/179372
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=rQhETkT8Nlo
จำหน่าย น้ำยากันลื่น SURE MOVE แก้ปัญหา พื้นห้องน้ำลื่น ด้วยวิธีง่าย ๆ เหมาะสำหรับใช้กับพื้นกระเบื้องเซรามิคทุกชนิด ยกเว้นกระเบื้องเคลือบเงาและกระเบื้องที่มีสีเข้ม
ได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน : ASTM E303-93 (2013) (ค่าแรงเสียดทานของพื้นผิว)
ติดต่อเรา
GMAIL : sureformove@gmail.com
LINE : http://nav.cx/3IqrJ4O
Jan 07, 2021