Last updated: 2020-12-27 | 159 จำนวนผู้เข้าชม |
ที่มา : https://sites.google.com/site/31805nattpon/kila-sahrab-phu-sung-xayu/kila-sahrab-phu-sung-xayu
ตัวอย่างกีฬาผู้สูงอายุ
1. ไท้เก๊ก (Taichi chuan)
ประวัติ
ถือกันว่า ปรมาจารย์ของไท้เก๊ก คือ จางซานฟง เมื่อ 800 ปีที่แล้ว อีกหลักฐานหนึ่งชี้ว่าสืบทอดจากวิทยายุทธของตระกูลเฉินในมณฑลเหอหนานประมาณ ราชวงศ์หมิง แพร่ในสมัยกบฏนักมวยเมื่อราษฎรลุกขึ้นต่อสู้กับชาติตะวันตก เป็นไท้เก๊กถึง 5 สาขา เมื่อจีนเปลี่ยนการปกครองจึงแพร่หลายไปทั่วประเทศ
“ไท้เก๊ก” คำนี้ คนจีนเขาใช้กันมาแต่โบราณแล้ว จูซีนักปรัชญาจีนในสมัยราชวงศ์ซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “ไท้เก๊ก” คือ หลักแห่งธรรมชาติ (เต๋า) ยินหนึ่ง หยางหนึ่ง รวมเรียกว่าเต๋า (หลักแห่งธรรมชาติ) ก็คือ “ไท้เก๊ก” และไท้เก๊กมิใช่สิ่งอื่นอีกสิ่งหนึ่ง แต่คือยินหยางในยินหยาง เบญจธาตุในเบญจธาตุ และสรรพสิ่งในสรรพสิ่ง มีเพียงหลักเหตุผลเดียวเท่านั้น
ไท้เก๊กหรือการฝึกพลังลมปราณ เป็นการบริหารร่างกายและทำสมาธิ เพื่อนำสิ่งที่เรียกว่า “ชี่” หรือลมปราณไปปรับดุลยภาพของยินหยางในร่างกาย ทำให้อวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานเป็นธรรมชาติถือว่าเป็นดุลยภาพบำบัดอย่างหนึ่ง การฝึกไท้เก๊กด้วยการนึกจินตนาการว่ากำลังกลิ้งลูกกลมสีต่างๆ ก็เป็นการบริหารร่างกายควบคู่กับการทำสมาธิด้วยเช่นกัน เพื่อนำพลังแห่งยินหยาง (พลังดุลยภาพของร่างกาย) ไปป้องกันบำบัดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และช่วยให้มีอายุวัฒนะและการฝึกยังคงยึดหลักการเบื้องต้นของการบำบัดโรคด้วย “ชี่กง” หรือการบำบัดโรคด้วยการฝึกพลังลมปราณไว้เช่นเดิม มีหลักการการเคลื่อนไหวอย่างมีจังหวะการถ่วงดุลอย่างถูกต้องของน้ำหนักของ ร่างกายและการหายใจโดยไม่ต้องออกแรง
คุณลักษณะที่สำคัญของไท้เก๊กมีอยู่ 5 ประการ คือ
1.ความช้า ซึ่งช่วยพัฒนาความรับรู้
2.ความเบา ช่วยให้การเคลื่อนไหวไปอย่างต่อเนื่องราบรื่น
3.ความสมดุล ทำให้ร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่ต้องเครียดเกร็ง
4.ความสงบ ได้มาจากความต่อเนื่องที่มีการเคลื่อนไหวแบบไหลเรื่อยเสมอกัน
5.ความชัดเจน คือ การชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากความคิดที่เข้ามาบุกรุก
ที่มา :
- คู่มือฝึกลูกกลมไท้เก๊ก เพิ่มพลังปราณขจัด 45 โรคร้ายด้วยตัวเอง, พรพงษ์ พรายมณี แปลและเรียบเรียง
- การแพทย์นอกระบบ 177 ทางเลือกไปสู่สุขภาพ, สุวิชญ์ ปรัชญาปารมิต แปลและเรียบเรียง
- บัลวีรายปักษ์ ฉบับที่ 26 : 16-30 มิ.ย. 47
รูปรำไทเก๊ก
ที่มา : https://youtu.be/oeyDrIQ0ES8
2.โยคะ
เมื่ออายุมากขึ้นสิ่งที่ตามมาก็คือความเสื่อมของร่างกายในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การได้ยิน การรับสัมผัสต่างๆ รวมไปถึงการมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดัน หัวใจ ส่งผลไปสู่ด้านจิตใจที่มีปัญหาความเครียด ซึมเศร้า หรือขาดความมั่นใจในตนเอง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ดีเท่าที่ควร
นอกจากการดูแลเรื่องอาหารเป็นพิเศษแล้ว เช่น เครื่องดื่มธัญญาหารสูตรน้ำตาลน้อย หรือนมไขมันต่ำ เป็นต้น การออกกำลังกายที่เหมาะกับวัยยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้ผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรงแม้จะอยู่ในวัยเลยเลข 6 ไปแล้วก็ตาม โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบโยคะที่กำลังเป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาวสมัยนี้ แต่ก็ไม่ได้เป็นการออกกำลังกายที่จำกัดเฉพาะคนหนุ่มสาวเท่านั้น
เพราะว่าโยคะเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เรามาดูประโยชน์ของโยคะกันดีกว่า
ประโยชน์ของโยคะสำหรับผู้สูงอายุ
1. เป็นการออกกำลังกายที่ผสมผสานกับการหายใจช่วยให้ออกซิเจนได้เข้าสู่ร่างกายดีขึ้น
2. ช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดี สามารถไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้น ป้องกันโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตต่ำ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคข้อเสื่อม
3. ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก การทรงตัว และทำให้เคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น
4. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น
5. ช่วยลดความเครียด และทำให้การนอนหลับพักผ่อนดีขึ้น
6. เป็นการฝึกสมาธิ ทำให้จิตใจปลอดโปร่งแจ่มใส
สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือ ก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง ผู้สูงอายุควรจะประเมินความเหมาะสมและความสามารถของตนเอง เช่น ถ้ามีโรคประจำตัวก็ควรปรึกษาแพทย์ว่าสามารถออกกำลังประเภทนี้ได้ไหม และเริ่มต้นจากการศึกษาท่าทางให้ถูกต้องก่อน แล้วค่อยๆ เริ่มปฏิบัติ ถ้าเจอท่ายากก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ การฝึกในครั้งแรกๆ ไม่ควรหักโหมมาก เพื่อเป็นการปรับสภาพร่างกายให้เคยชินยิ่งถ้าคุณไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนหรือล้างราวงการนี้ไปนาน และควรฝึกอย่างต่อเนื่องต่อเนื่องไม่ใช่หักโหมทำเป็นครั้งคราว ในการฝึกโยคะสิ่งสำคัญคือการสูดลมหายใจเข้าออก บางคนไม่เคยก็อาจจะเกร็งกับท่าจนเผลอกลั้นหายใจ หรือสูดลมหายใจอย่างแรง ที่ถูกต้องคือควรหายใจเข้าและออกยาวๆ เพื่อช่วยระบบการหายใจของร่างกาย
อย่างไรก็ตามทางที่ดีที่สุดควรฝึกกับครูผู้ชำนาญ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ และอย่าลืมฝึกอย่างต่อเนื่องเพื่อความแข็งแรงความคล่องแคล่วของร่างกาย
ที่มา : https://youtu.be/HTM-Mk87XE4
3.การเต้นแอโรบิค
การออกกำลังกาย “แบบแอโรบิค” นี้ นั้นจะมีประโยชน์มากสำหรับผู้สูงอายุ และช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้
รูปตัวอย่างการเต้นแอโรบิค
ที่มา : https://youtu.be/RUn6W1gZp3A
4.การออกกำลังกายในน้ำ
การออกกำลังกายในน้ำ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้มีความแข็งแรง แต่ยังไม่แพร่หลายมากนักเนื่องจากขาดแคลนสระว่ายน้ำ การออกกำลังกายในน้ำนอกจากจะมีผลดีต่อสุขภาพกายแล้วยังมีผลดีต่อสุขภาพจิตด้วย และยังเหมาะสำหรับผู้ไม่สามารถออกกำลังบนบกได้เช่นผู้ที่มีข้อเสื่อม มีอาการปวดตามข้อต่อของร่างกาย การออกกำลังกายบนบก อาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวดตามข้อเพิ่มมากขึ้นได้ ในขณะทีการออกกำลังกายในน้ำ น้ำจะเป็นตัวช่วยในการพยุงร่างกาย ทำให้มีการลงน้ำหนักผ่านข้อต่อน้อยมาก อันจะส่งผลให้ไม่เกิดอาการปวดในขณะที่มีการเคลื่อนไหว และยังสามารถเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายได้เนื่องจากการเคลื่อนไหวในน้ำจะมีแรงต้านทาน ทำให้ร่างกายต้องใช้แรงพยายามในการเคลื่อนไหว
การว่ายน้ำและการออกกำลังกายทางน้ำให้ประโยชน์อะไรบ้าง?
· ทำให้ร่างกายแข็งแรง
· ทำให้ข้อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น
· กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและความอดทนรวมทั้งการทรงตัวดีขึ้น
· ทำให้ระบบไหลเวียนดีขึ้น
· ใช้ในการฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังได้รับอุบัติเหตุ
· ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการลดน้ำหนัก
· ลดความตึงเครียด
วิธีการออกกำลังกายในน้ำมีอะไรบ้าง
· การเดินหรือการวิ่งในน้ำ ความลึกของน้ำอาจจะระดับเอวหรือระดับหน้าอก ประโยชน์ของการวิ่งในน้ำเหมือนกับการวิ่งบนบกแต่จะมีอุบัติการณ์ของอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบน้อยกว่าการวิ่งบนบก แรงต้านของน้ำจะทำให้ร่างกายใช้พลังงานมาก
· การเต้นแอโรบิกในน้ำ (water aerobics) เพียงครั้งละ 20 นาที ก็สามารถทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น
· การสร้างกำลังของกล้ามเนื้อ (water toning /strengthening training) โดยการเคลื่อนไหวร่างกายต้านกระแส
· น้ำหรือใช้อุปกรณ์เพิ่มเพื่อสร้างกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
· การฝึกการเคลื่อนไหวของข้อ (Flexibility training) เพื่อให้ข้อเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่
· ธาราบำบัด (water therapy and rehabilitation) ใช้บำบัดทางการแพทย์
· การทำโยคะในน้ำ (water yoga and relaxation) เป็นการฝึกโยคะในน้ำเพื่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
· การออกกำลังกายในน้ำลึก (Deep – water exercise) เป็นการออกกำลังกายในน้ำลึกโดยที่เท้าไม่สัมผัสพื้นโดยใช้อุปกรณ์ช่วยในการลอยตัว
· การออกกำลังกายโดยใช้กำแพง (wall exercises)
· การว่ายน้ำ
ทำไมต้องออกกำลังกายในน้ำ
· กระแสน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปวดและอาการข้อติด
· กระแสน้ำอุ่นจะทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
· น้ำจะช่วยลดแรงกระแทกของการออกกำลังกาย
· แรงต้านของน้ำจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
· กระแสน้ำจะช่วยนวดให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ที่มา : https://youtu.be/Xvis2eaJNfw
5.กรีฑา
การวิ่งเพื่อสุขภาพในผู้สูงอายุนั้น ต้องเริ่มจากทีละน้อย ๆ อย่าหักโหม วิ่งอย่างช้า ๆ สบาย ๆ ไปเรื่อย ๆ มีจิตใจที่เพลิดเพลิน เบิกบาน อารมณ์ดี ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องคอยสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเสมอ ทั้งก่อน ขณะวิ่ง และหลังการวิ่ง
รูปตัวอย่างกรีฑาสำหรับผู้สูงอายุ
ที่มา : https://youtu.be/K19YAkAv4Ps
จำหน่าย น้ำยากันลื่น SURE MOVE แก้ปัญหา พื้นห้องน้ำลื่น ด้วยวิธีง่าย ๆ เหมาะสำหรับใช้กับพื้นกระเบื้องเซรามิคทุกชนิด ยกเว้นกระเบื้องเคลือบเงาและกระเบื้องที่มีสีเข้ม
ได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน : ASTM E303-93 (2013) (ค่าแรงเสียดทานของพื้นผิว)
ติดต่อเรา
GMAIL : sureformove@gmail.com
LINE : http://nav.cx/3IqrJ4O
Jan 07, 2021