Last updated: 2020-12-26 | 49 จำนวนผู้เข้าชม |
ก่อนถึงวันเกษียณ ขณะที่เราวิ่งวุ่นอยู่กับการตั้งใจทำ งานหาเงิน อาจทำ ให้เราหลงลืมบางสิ่งบางอย่างที่จำเป็นจะต้องเตรียมสำหรับการเกษียณ นอกเหนือจากการจดบันทึกรายรับ รายจ่าย และการบันทึกแจกแจงสินทรัพย์หนี้สินต่างๆ ที่ควรทำอย่างสมํ่าเสมอในทุกปีแล้ว เราควรทำอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง?
วันนี้มีเช็คลิสต์สำหรับผู้ที่ใกล้จะเกษียณมาให้ตรวจสอบไปด้วยกันค่ะ
ถ้ามีเวลา 10 ปีก่อนเกษียณ
ทบทวนยอดเงินลงทุนที่มีและปรับการลงทุน
สำหรับการลงทุนที่เราเตรียมไว้ใช้หลังเกษียณควรจะมีการปรับความเสี่ยงการลงทุนลง โดยลดสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ลดสัดส่วนตราสารทุน เพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้ในพอร์ตให้มากขึ้น ตัวอย่าง แผนสมดุลตามอายุของ กบข. สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปี จะมีสัดส่วนตราสารทุน 32% มีตราสารหนี้63% และการลงทุนอื่นๆ 5% ซึ่งในแต่ละปีก็จะมีการปรับสัดส่วนตราสารทุนลงเรื่อยๆ ปีละ 2-3% จะเห็นได้ว่าเมื่อใกล้เกษียณมากขึ้น เราจำเป็นต้องลดความผันผวนของการลงทุน เนื่องจากใกล้ถึงวันที่เราต้องใช้เงินนั่นเอง
วิธีการปรับการลงทุนนี้สามารถนำ ไปประยุกต์ใช้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) ที่เราสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนได้นะคะ
ทดลองใช้โปรแกรมคำนวณเงินสำหรับการเกษียณ
ในเว็บไซต์ของสถาบันการเงินหลายแห่งมีบริการจำลองแผนการลงทุนสำหรับการเกษียณ เพื่อให้รู้ว่าเราควรเตรียมเงินเท่าไหร่ถึงจะพอใช้ยามเกษียณ และที่สำคัญทำให้รู้ว่าเราต้องออมเงินหรือลงทุนเดือนละเท่าไหร่ เพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย ทั้งนี้จะต้องเตรียมข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลด้านการเงิน
ตัวอย่าง เช่น ปัจจุบันอายุ 50 ปี ต้องการเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี คาดการณ์อายุขัยอยู่ที่ 80 ปี ประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณอยู่ที่ 22,000 บาท อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย2.5% ต่อปี ถ้าเงินออมที่มีอยู่แล้วตอนนี้ 1,000,000บาท จะต้องเก็บเงินตั้งแต่อายุ 50 ปีเพิ่มขึ้นอีกเดือนละ29,000 บาท จะทำ ให้มีเงิน ณ วันเกษียณที่อายุ 60 ปี ประมาณ 6,600,000 บาท ซึ่งจะเป็นจำ นวนเงินที่เพียงพอสำ หรับมาตรฐานการดำรงชีพไปจนถึงอายุ 80 ปี
มีเวลา 5 ปี ก่อนเกษียณ
ปรับการลงทุนให้มีความเสี่ยงน้อยลง
เนื่องจากระยะเวลาก่อนเกษียณมีน้อยลง หากการลงทุนปรับตัวลดลงจนขาดทุน คงไม่ดีแน่ๆ และถ้าการลงทุนมีสัดส่วนตราสารทุนอยู่มากจะทำ ให้มีความผันผวนสำหรับแผนสมดุลตามอายุของ กบข. สำหรับผู้ที่อายุ 55 ปี กำหนดสัดส่วนตราสารทุน 18% ตราสารหนี้ 82%
โดยผู้ที่มีกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ครบกำหนดแล้วแนะนำทยอยขายหน่วยลงทุนออกและสะสมกองทุนตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น และหากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีต่อเนื่อง แนะนำลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)ที่เป็นประเภทตราสารหนี้โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต้องลงทุนขั้นตํ่า 5,000 บาทต่อปีและลงทุนต่อเนื่อง 5 ปีนะคะ
จัดการเรื่องบ้านหรือที่อยู่อาศัย
สถานที่ที่จะอาศัยอยู่หลังเกษียณ ควรอยู่ไม่ไกลจากชุมชน และสถานพยาบาล อีกทั้งควรเตรียมความพร้อมให้ที่อยู่อาศัยมีความปลอดภัย และมีลักษณะเหมาะสมกับวัยสูงอายุ เมื่อผู้ที่เกษียณแล้วมีเงินเก็บไม่เพียงพอ บ้านก็เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งซึ่งสามารถตัดสินใจขายบ้าน เพื่อมีเงินไปซื้อบ้านที่เล็กลง หรือเช่าอพาร์ตเมนต์จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้และมีทางเลือกอื่นๆ เช่น ถ้าอยากอยู่บ้านหลังเดิมก็สามารถใช้บริการสินเชื่อ Reverse Mortgage โดยผู้กู้ยังอาศัยอยู่ในบ้านได้เหมือนเดิมและมีเงินใช้รายเดือนอีกด้วย
ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่คุ้มครองหลังเกษียณ
โดยอาจพิจารณาการทำ ประกันสุขภาพเพิ่มเติมก่อนที่จะเจ็บป่วยและประกันสุขภาพที่ควรทำ พ่วงไปกับประกันแบบตลอดชีพเนื่องจากจะให้ความคุ้มครองเราได้ในระยะยาวหลังเกษียณ
มีเวลา 1 ปี ก่อนเกษียณ
ประเมินกระแสเงินสดทั้งรายได้และรายจ่าย
หากพบว่าเงิน ณ วันเกษียณไม่เพียงพอสำ หรับใช้ชีวิตยามเกษียณ แนะนำ ให้หาทางลดรายจ่าย เช่นการทำอาหารทานเอง ท่องเที่ยวน้อยลง และหาทางเพิ่มรายได้ เช่น ตัดสินใจทำ งานต่อไป หาอาชีพใหม่ตามความถนัด หรือขายสินทรัพย์ต่างๆ
ปรับสัดส่วนการลงทุนหลังเกษียณและทยอยถอนเงิน
เมื่อถึงเวลาต้องใช้เงิน ควรถอนเงินเป็นรายเดือนเพื่อนำ มาใช้จ่ายเท่าที่จำ เป็น เพราะว่าเงินก้อนใหญ่ที่ยังไม่ได้นำออกมาใช้ ยังสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนต่อไปได้ทั้งนี้เมื่ออายุมากกว่า 59 ปีแนะนำ ควรลงทุนตราสารทุน 10% มีตราสารหนี้90% และสัดส่วนการลงทุนนี้แนะนำสำ หรับการลงทุนช่วงหลังเกษียณ
เช็คลิสต์เหล่านี้เป็นเรื่องที่จะทำ ก่อนหรือทำหลังอย่างไร ไม่มีอะไรตายตัวนะครับ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความพร้อมของแต่ละบุคคล ทั้งนี้คนที่จะตัดสินใจทุกเรื่องเกี่ยวกับการเกษียณ ก็คือตัวเราเอง ดังนั้นก่อนตัดสินใจเรื่องใดๆ เราควรพิจารณาอย่างรอบคอบหาข้อมูลและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจในเรื่องการเงินนะคะ
อย่างไรก็ตามการที่ผู้เกษียณอายุจะสามารถเผชิญกับสภาวะวิกฤติดังกล่าวได้จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมวางแผนชีวิตก่อน ที่จะก้าวสู่วัยเกษียณหรือวัยสูงอายุในด้านต่างๆ 6 ด้าน ดังนี้
1. เตรียมตัวด้านจิตใจ
คนที่มีอายุใกล้ถึงเกณฑ์เกษียณ ย่อมรู้สึกประหวั่นวิตกกังวลว่า หลังจากเกษียณจะอยู่อย่างไร ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจ ทำให้มีอารมณ์รุนแรง หงุดหงิด เหงา เบื่อหน่ายชีวิต ควรเตรียมตัวด้านจิตใจ ดังนี้
– สร้างขวัญกำลังใจที่ดี ในการเผชิญหน้ากับวัยเกษียณ ใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
– มองโลกในแง่ดี รู้จักปล่อยวางเมื่อมีปัญหา พร้อมแก้ปัญหาด้วยความมีสติและรู้จักควบคุมตนเอง
– พยายามทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่น ทั้งการทำอาหาร ทำสวน เลี้ยงสัตว์
– ติดตามเหตุการณ์ข่าวสารบ้านเมืองต่างๆ ทั้ง ฟังเพลง อ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์
2. เตรียมตัวด้านร่างกาย
สำหรับสุขภาพร่างกาย เป็นสิ่งที่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ ผู้ที่ใกล้จะเกษียณอายุควรเตรียมตัวด้านสุขภาพร่างกายให้พร้อม เพราะในวัยนี้ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นได้ชัด เตรียมตัวด้านร่างกาย ดังนี้
– รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย เน้นปลาและผักที่ปลอดสารพิษ
– ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 10 แก้ว
– นอนหลับอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
– ตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3. เตรียมตัวด้านสัมพันธภาพในครอบครัว
เรื่องสัมพันธภาพในครอบครัว เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นครอบครัวจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
– ติดต่อสื่อสารกันเสมอ
– ให้เวลากับสมาชิกในครอบครัว
– เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่คนในครอบครัว
– สอนลูกหลานให้รักและเคารพผู้สูงอายุ
4. เตรียมตัวด้านกิจกรรมการใช้เวลาว่าง
ด้านกิจกรรมยามว่าง เป็นเรื่องสำคัญที่ทำแล้วสบายใจ ควรเลือกกิจกรรมที่มีประโยชน์และถนัด รวมทั้งความเหมาะสมกับกำลัง ดังนี้
– เล่นกีฬา เช่น เดิน ว่ายน้ำ เปตอง เป็นต้น
– ทำงานอดิเรก เช่น เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ หรือทำงานประดิษฐ์
– ร่วมกิจกรรมในสังคม หรือทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อพูดคุยกับเพื่อนใหม่
5. เตรียมตัวด้านที่อยู่อาศัย
เรื่องที่อยู่อาศัย เป็นสถานที่สำคัญต่อมนุษย์ทุกคน การเตรียมที่อยู่อาศัยควรจัดให้พร้อมก่อนถึงวันเกษียณอายุ หากจัดการตอนเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วอาจมีปัญหาบางอย่างซึ่งแก้ไม่ทันการณ์ได้ ควรเตรียมความพร้อม ดังนี้
– บริเวณที่อยู่อาศัย ต้องมีลักษณะเหมาะสม และมีข้อจำกัดในวัยชรา เช่น พื้นบ้านต้องไม่ขัดเงาให้ลื่น เพราะจะทำให้หกล้มได้ง่าย
– สถานที่ตั้งที่อยู่อาศัย ต้องสะดวกในการเดินทาง ไม่ไกลจากแหล่งชุมชน จากญาติหรือเพื่อนสนิท
6. เตรียมตัวด้านทรัพย์สินเงินทอง
ความเป็นจริงแล้ว การวางแผนชีวิตควรเริ่มต้นตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อเป็นการวางเป้าหมายในชีวิต เนื่องจากบุคคลเมื่อถึงเวลาเกษียณอายุ รายได้ที่เคยได้รับประจำก็ลดลง ดังนั้นถ้าไม่มีแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุม เงินอาจหมดไปอย่างรวดเร็ว จึงต้องเตรียมตัวด้านการเงิน ดังนี้
-ประเมินรายจ่ายแต่ละเดือน วิเคราะห์รายจ่ายต่างๆ ทำเป็นตารางงบออกมา ให้เห็นและเข้าใจง่าย
-ประเมินรายรับแต่ละเดือน วิเคราะห์รายรับเพื่อคาดคะเนจำานวนรายได้ เนื่องจากเมื่อเกษียณอายุ รายได้พิเศษต่างๆ อาจสิ้นสุดไป
-ควบคุมค่าใช้จ่ายในบ้านให้สมดุลกับรายได้ ควรหาทางเพิ่มรายได้หรือตัดรายจ่ายไม่จำเป็นออก
-เตรียมสะสมเงินเพื่อสำรองไว้ใช้ยามเจ็บป่วย ฉุกเฉินหรือเมื่อมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ควรเริ่มต้นสะสมเป็นเวลาอย่างน้อย 10-15 ปี ก่อนการเกษียณอายุ อาจเป็นการสะสมในรูปอสังหาริมทรัพย์ การซื้อพันธบัตร การประกันชีวิต หรือบริหารเงินที่ได้รับหลังเกษียณ
อ่านบทความนี้แล้ว ลองทบทวนกันดูนะคะว่า ตอนนรีเรามีการเตรียมความพร้อม เพือรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกันบ้างหรือยัง ถ้ายังล่ะก็ลองเอาสิ่งดีๆ ที่เรารวบรวมมากฝากลองไปทำตามกันดู แก่ตัวไปจะได้ไม่ลำบากค่ะ
Cr. https://goodlifeupdate.com/healthy-body/seniorcare/194768.html
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=QsuMOedGgRc
จำหน่าย น้ำยากัลื่น SURE MOVE แก้ปัญหา พื้นห้องน้ำลื่น ด้วยวิธีง่าย ๆ เหมาะสำหรับใช้กับพื้นกระเบื้องเซรามิคทุกชนิด ยกเว้นกระเบื้องเคลือบเงาและกระเบื้องที่มีสีเข้ม
ได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน : ASTM E303-93 (2013) (ค่าแรงเสียดทานของพื้นผิว)
ติดต่อเรา
GMAIL : sureformove@gmail.com
LINE : http://nav.cx/3IqrJ4O
Jan 07, 2021