Last updated: 2020-12-27 | 119 จำนวนผู้เข้าชม |
คนท้องลื่นล้ม เป็นอุบัติเหตุที่ไม่อยากจะให้เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วคนท้องหลายคนก็จะเกิดอาการกระวนกระวายใจกลัวว่าลูกในท้องจะเป็นอันตราย ลูกในท้องจะไม่สมบูรณ์แข็งแรง บางคนก็กลัวว่าลูกในท้องจะแท้ง การที่คนท้องลื่นล้มไม่ว่าจะตกบันได เป็นลม ท้องกระแทกย่อมเกิดความเสี่ยงทั้งนั้น แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงจะมากหรือน้อยคุณแม่สามารถรู้ได้ และหากอาการแบบไหนที่คุณแม่ควรไปพบหมอโดยด่วน
คนท้องล้มอันตรายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง
1.อายุของแม่
อายุของคุณแม่เป็นส่วนสำคัญที่จะบอกถึงระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป เพราะมักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ง่ายค่ะ ดังนั้น คุณแม่ควรรีบเข้าปรึกษาคุณหมอให้เร็วที่สุดหลังจากที่คุณแม่ลื่นล้ม หรือรถล้มค่ะถึงว่าคุณแม่จะไม่ได้รู้สึกว่าจะเป็นปัญหาที่รุนแรงก็ตาม
2.ลักษณะพื้นผิว
ลักษณะพื้นผิวที่คุณแม่ล้มจะมีผลต่อความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้เหมือนกันค่ะ เช่น เวลาที่คุณแม่ล้มบนพื้นที่แข็งจะได้รับแรงกระแทกที่แรงมากกว่าบนพื้นที่อ่อนนุ่ม อย่างไรก็ตามก็มีคุณแม่ที่คลอดลูกมาร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์แม้ว่าคุณแม่จะล้มมาก่อน
3.ท่าล้มของคุณแม่
ตราบใดก็ตามที่คุณแม่ท้องไม่ได้เอาหน้าหรือเอาท้องลง ทารกในครรภ์ก็ยังจัดได้ว่าปลอดภัยค่ะ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการกระแทกขึ้น จงจำไว้ว่า ทุกครั้งที่รู้สึกว่าตัวเองจะเป็นลม หน้ามืด หรือเกิดลื่นล้มขึ้นมาจริง ๆ ให้ใช้มือทั้งสองข้างลงก่อน เพื่อเป็นการช่วยประคองน้ำหนักของคุณแม่
คนท้องลื่นล้ม ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม?
4.ช่วงเวลาของการตั้งครรภ์
ระยะเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในแต่ละไตรมาส สามารถบอกได้ถึงระดับของความรุนแรงและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับคนท้องได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. คนท้องล้มช่วงไตรมาสที่ 1: ในช่วงไตรมาสนี้ หากคุณแม่เกิดหน้ามืดจนเผลอลื่นล้ม จะเกิดความเสี่ยงต่ออันตรายน้อยกว่าไตรมาสอื่นๆ ค่ะ ดังนั้น หลังจากคุณแม่ลื่นล้มอย่างเพิ่งตื่นตระหนกไป แนะนำให้คุณแม่นอนราบพักผ่อนเพื่อดูอาการก่อน เมื่อไหร่ที่คุณแม่รู้สึกว่ามีอาการปวดท้องมากๆ ให้รีบไปพบอพทย์ทันทีค่ะ
2. คนท้องล้มในช่วงไตรมาสที่ 2: สำหรับคุณแม่ที่ลื่นล้มในช่วงไตรมาสนี้จะมีความเสี่ยงอันตรายกว่าไตรมาสแรกค่ะ เนื่องจากมดลูกไม่ได้อยู่ในบริเวณอุ้งเชิงกรานแล้วเวลาที่คุณแม่ล้มลงจึงอาจทำอันตรายต่อลูกในท้องรวมถึงตัวคุณแม่ได้ ซึ่งหลังจากที่คุรแม่ล้มแล้วควรสังเกตุอาการตัวเองว่าเป็นอย่างไร หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ทันที
- มีเลือดออกจากช่องคลอด
- ลูกในท้องไม่ดิ้นหรือไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ
- เกิดการหดตัวของมดลูก
- มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
- เมื่อกดท้องแ้วเกิดอาการเจ็บ
3. คนท้องล้มในช่วงไตรมาสที่ 3: พอเริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ท้องคุณแม่จะเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นอบ่างชัดเจน หากคุณแม่มีอาการลื่นล้มไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากการเป็นลม อาการเหนื่อยล้า อุบัติเหตุ หรืออะไรก็ตาม การล้มในช่วงนี้จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากไปอีก ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตุดูอาการของตัวเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ หากพบว่ามีควรพาตัวเองไปพบแพทย์ทันที
- มีเลือดออกจากช่องคลอด
- มีอาการวิงเวียงจะเป็นลม
- ไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นหรือมีอาการเคลื่อนไหว
- น้ำคร่ำแตก
- ปวดท้องเกร็งจากการหดตัวและหายใจไม่สะดวก
ผลกระทบจาการล้มของคนท้องมีอะไรบ้าง
บางครั้งการล้มของคุณแม่อาจไม่มีผลกระทบต่อลูกในท้องหรือคุณแม่ แต่ก็ประมาทไม่ได้เช่นเดียวกัน หากคุณแม่มีอาการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น อย่าประมาทควรรีบไปพบแพทย์ทันทีนะคะ โดยผลกระทบที่คุณแม่และลูกน้อยได้รับ มีดังนี้
- กระดูกของคุณแม่หัก
- ลูกในท้องเกิดอาการบาดเจ็บที่บริเวณหัวกะโหลก
- เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
- เกิดอาการเลือดทารกเข้าสู่กระแสเลือดของมารดา
คนท้องควรป้องกันตนเองอย่างไรไม่ให้ล้ม
เวลาที่คนท้องลื่นล้มหรือเกิดอุบัตุเหตุจนทำให้ล้ม บางคนก็โชคดีที่ไม่เป็นไร แต่บางครั้งโชคก็ไม่ได้เข้าข้างคุณแม่เสมอไป อุบัตุเหตุสามารถป้องกันได้โดยที่คุณแม่ควรระมัดระวังมากขึ้น โดยมีวิธีดังนี้
- สวมรองเท้ากันลื่น
- เมื่อเห็นว่าพื้นลื่นควรเดินอย่างระมัดระวังมากขึ้น
- พยายามใช้เสื่ออาบน้ำ
- หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าสูง
- เดินช้าๆ ไม่ควรรีบจนเกินไป
- พยายามยึดจับราวบันไดขณะขึ้นบันได
- พยายามทานอาหารเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
- หากคุณแม่รู้สึกว่าจะเป็นลม หน้ามืดแล้วละก็ ให้ค่อย ๆ หาที่นั่ง หรือยืนพิงพนักที่มีความแข็งแรงก่อน?
ที่มา: beingtheparent
ที่มา : https://th.theasianparent.com/คนท้องลื่นล้ม
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=8nvszefxdao
จำหน่าย น้ำยากันลื่น SURE MOVE แก้ปัญหา พื้นห้องน้ำลื่น ด้วยวิธีง่าย ๆ เหมาะสำหรับใช้กับพื้นกระเบื้องเซรามิคทุกชนิด ยกเว้นกระเบื้องเคลือบเงาและกระเบื้องที่มีสีเข้ม
ได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน : ASTM E303-93 (2013) (ค่าแรงเสียดทานของพื้นผิว)
ติดต่อเรา
GMAIL : sureformove@gmail.com
LINE : http://nav.cx/3IqrJ4O
Jan 07, 2021